ศึกษาเกี่ยวกับ โครโมโซม และสารพันธุกรรม โครงสร้างของ DNA การจำลอง DNA การควบคุม ลักษณะพันธุกรรมของ DNA การเกิดมิวเทชัน ศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์ การศึกษาพันธุกรรมของเมนเดล การถ่ายทอดยีนบนโครโมโซม ลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นส่วนขยายของพันธุศาสตร์เมนเดล การถ่ายทอดยีนบนโครโมโซมเพศ ยีนบนโครโมโซมเดียวกัน ศึกษาเทคโนโลยีทาง DNA พันธุวิศวกรรมและการโคลนยีน การหาขนาดของ DNA และการหาลำดับนิวคลีโอไทด์การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทาง DNA และ เทคโนโลยีทาง DNA กับความปลอดภัยทางชีวภาพและชีวจริยธรรม ศึกษาสาเหตุการทำให้ยีนผิดปกติ ศึกษาวิธีการวินิจฉัย การบำบัดและการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรมของแพทย์ ศึกษา เกี่ยวกับวิวัฒนาการ หลักฐานและข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต แนวคิดเกี่ยวกับ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต พันธุศาสตร์ประชากร ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีล และ กำเนิดสปีชีส์ การนำเสนอบทความวิชาการด้านพันธุศาสตร์การแพทย์ โดยค้นคว้าจากเอกสารหรือสื่อต่าง ๆ ในเรื่องที่สนใจ
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การสังเกต วิเคราะห์ เปรียบเทียบ อธิบาย อภิปราย และสรุป
เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และสามารถประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์ มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสมต่อการเป็นนักวิทยาศาสตร์การแพทย์- อาจารย์: นางสาวปนิดา ปัสสาโก
อธิบายการเกิดไอออนและการเกิดพันธะไอออนิกโดยใช้แผนภาพหรือสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส เขียนสูตรและเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก สมบัติของสารประกอบไอออนิก คำนวณพลังงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบไอออนิกจากวัฏจักรบอร์น-ฮาเบอร์ สมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิ ของปฏิกิริยาของสารประกอบไอออนิก การเกิดพันธะโคเวเลนต์แบบพันธะเดี่ยวพันธะคู่ และพันธะสาม ด้วยโครงสร้างลิวอิส สูตรและเรียกชื่อสารโคเวเลนต์ ความยาวพันธะและพลังงานพันธะในสารโคเวเลนต์ รวมทั้ง คำนวณพลังงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาของสารโคเวเลนต์จากพลังงาน แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์และเปรียบเทียบจุดหลอมเหลวจุดเดือดและการละลายน้ำของสารโคเวเลนต์ สมบัติของสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายชนิดต่างๆ คาดคะเนรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ ระบุสภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์ การเกิดพันธะโลหะและสมบัติของโลหะ หน่วยวัดปริมาณต่างๆ ของสาร บอกความหมายของมวลอะตอมของธาตุ และ คำนวณมวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุ มวลโมเลกุลและมวลสูตร การเปลี่ยนหน่วยวัดให้เป็นหน่วยในระบบเอสไอ ความสัมพันธ์ของโมล จำนวนอนุภาค มวล ปริมาตรของแก๊สที่ STP ความหนาแน่นของสาร
- อาจารย์: นางสาวเรณู สิทธิการ
คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 2 รหัสวิชา ว31102 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ฯ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่
2 เวลา 40 ชั่วโมง/ภาคเรียน/ 1.0
หน่วยกิต
เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของ ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สารพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต การแปรผันทางพันธุกรรม การเกิดมิวเทชัน เทคโนโลยีชีวภาพ ความหลากหลายทางชีวภาพ การคัดเลือกตามธรรมชาติ ใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทันและมีจริยธรรม
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสังเกต การสืบค้นข้อมูล การอภิปราย สรุป
เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้
มีความสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตของตนเอง ดูแลรักษาสิ่งมีชีวิตอื่น
เฝ้าระวัง และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม
คุณธรรมและค่านิยมซึ่งกระบวนการเหล่านี้ได้จัดการเรียนรู้ผ่านสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถตามตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด
มฐ. ว 1.2 : ม.4/6 - 4/7
มฐ. ว 1.3 : ม.4/1 - 4/6
มฐ. ว 4.1 : ม.4/1
รวมทั้งหมด 9 ตัวชี้วัด
- อาจารย์: นางสาววนิดา ภูผา หาดอมรา
ศึกษาวิเคราะห์งาน กำลัง พลังงาน กฎการอนุรักษ์พลังงาน เครื่องกล โมเมนตัม แรงและการเปลี่ยนโมเมนตัม การดลและแรงดล การชน การเคลื่อนที่แบบหมุน ความเร็วเชิงมุมและความเร่งเชิงมุม ทอร์กกับการเคลื่อนที่แบบหมุน โมเมนต์ความเฉื่อย พลังงานจลน์ของการหมุน โมเมนตัมเชิงมุมและอัตราการเปลี่ยนโมเมนตัมเชิงมุม การทำงานในการหมุนและการแกว่งของวัตถุ การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ แบบวงกลม
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต การสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การทดลอง การสำรวจตรวจสอบ บันทึก จัดกลุ่มข้อมูลและการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ
เพื่อเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ คุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม
- อาจารย์: นายอานนท์ ศรีวิเชียร