คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
รายวิชาศิลปะ(ดนตรีไทย) รหัสวิชา ศ22102 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เวลา 40 ชั่วโมง/ภาคเรียน/ 1.0 หน่วยกิต
ด้านดนตรี ศึกษาการอ่าน เขียน ร้องโน้ตไทย เปรียบเทียบเสียงร้อง เสียงของเครื่องดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมที่ต่างกัน ร้องเพลงโดยใช้เครื่องดนตรีประกอบศึกษาประเภทของวงดนตรีไทยที่มาจากวัฒนธรรมต่าง ๆ ถ่ายทอดอารมณ์และนำเสนอบทเพลงที่ตนเองสนใจ พร้อมทั้งประเมินคุณภาพของบทเพลงตามเกณฑ์ที่กำหนด ศึกษาองค์ประกอบทางดนตรี ทฤษฎีโน้ตไทย ปัจจัยสำคัญต่อสร้างสรรค์งานดนตรี ด้านการขับร้องและการบรรเลง พัฒนาและประเมินทักษะความสามารถด้านดนตรี ศึกษาเปรียบเทียบองค์ประกอบที่ใช้ในงานดนตรี และศิลปะแขนงอื่น ๆ ศึกษาเทคนิคการขับร้อง การบรรเลงดนตรีเดี่ยวและรวมวง ศึกษาการแต่งเพลงอย่างง่าย ๆ เปรียบเทียบความแตกต่างงานดนตรีของตนเองและผู้อื่น ศึกษาอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อบุคคล สังคม และนำเสนอด้วยการจัดแสดงดนตรีที่เหมาะสมกับสาระการเรียนรู้อื่นในกลุ่มศิลปะ ศึกษาความสัมพันธ์แลอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อสังคมไทย และศึกษาองค์ประกอบของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม ศึกษาบทบาทของดนตรีในสังคมไทย อิทธิพลของวัฒนธรรมที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของดนตรีในประเทศไทย ศึกษาประวัติดนตรีไทย เพื่อนำเสนอในรูปแบบของการบรรยายและอภิปรายลักษณะเด่นที่ทำให้งานด้านดนตรีนั้นได้รับการยอมรับ
โดยศึกษาเทคนิคการถ่ายทอดอารมณ์เพลง ด้วยการร้อง บรรเลงเครื่องดนตรีไทย สร้างเกณฑ์ในการประเมินผลการประพันธ์และการเล่นดนตรีของตนเอง ให้มีความรู้ในด้านดนตรีไทยและเกิดทักษะในการปฏิบัติ
เพื่อให้เห็นคุณค่า ผลงานด้านดนตรี มีสุนทรียภาพ นำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
- Teacher: นางสาวนภัส ภู่สกุล หาดอมรา
ด้านดนตรี ศึกษาการอ่าน เขียน ร้องโน้ตสากล เปรียบเทียบเสียงร้อง เสียงของเครื่องดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมที่ต่างกัน ร้องเพลงโดยใช้เครื่องดนตรีประกอบศึกษาประเภทของวงดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่าง ๆ ถ่ายทอดอารมณ์และนำเสนอบทเพลงที่ตนเองสนใจ พร้อมทั้งประเมินคุณภาพของบทเพลงตามเกณฑ์ที่กำหนด ศึกษาองค์ประกอบทางดนตรี ทฤษฎีโน้ตสากล ปัจจัยสำคัญต่อสร้างสรรค์งานดนตรี ด้านการขับร้องและการบรรเลง พัฒนาและประเมินทักษะความสามารถด้านดนตรี ศึกษาเปรียบเทียบองค์ประกอบที่ใช้ในงานดนตรี และศิลปะแขนงอื่น ๆ ศึกษาเทคนิคการขับร้อง การบรรเลงดนตรีเดี่ยวและรวมวง ศึกษาการแต่งเพลงอย่างง่าย ๆ เปรียบเทียบความแตกต่างงานดนตรีของตนเองและผู้อื่น ศึกษาอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อบุคคล สังคม และนำเสนอด้วยการจัดแสดงดนตรีที่เหมาะสมกับสาระการเรียนรู้อื่นในกลุ่มศิลปะ ศึกษาความสัมพันธ์แลอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อสังคมไทย และศึกษาองค์ประกอบของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม ศึกษาบทบาทของดนตรีในสังคมไทยและต่างประเทศ อิทธิพลของวัฒนธรรมที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของดนตรีในประเทศไทย ศึกษาประวัติดนตรีตะวันตกยุคสมัยต่าง ๆ เพื่อนำเสนอในรูปแบบของการบรรยายและอภิปรายลักษณะเด่นที่ทำให้งานด้านดนตรีนั้นได้รับการยอมรับ
วัดและประเมินผล ความรู้ ทักษะ ด้วยวิธีการที่หลากหลายตามสภาพจริง เทคนิคการถ่ายทอดอารมณ์เพลง การร้อง บรรเลงเครื่องดนตรีสากล สร้างเกณฑ์ในการประเมินผลการประพันธ์และการเล่นดนตรีของตนเอง ให้มีความรู้ในด้านดนตรีสากลและเกิดทักษะในการปฏิบัติ
เห็นคุณค่า ผลงานด้านดนตรี มีสุนทรียภาพ นำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
- Teacher: นายโกศล กลิ่นจิ๋ว หาดอมรา